FTA ย่อมาจาก Free Trade Area หรือเขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร โดยแนวคิดของการมีนโยบายการค้าเสรี คือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองถนัด และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือจะผลิตสินค้าที่คิดว่าประเทศตนได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ มากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นี้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศตนไม่ถนัด หรือเสียเปรียบ โดยแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าแล้วได้เปรียบ ดังนั้นประเทศทั้งสองก็จะทำการค้าต่อกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์กัน ในภาพรวมแล้วการทำ FTA มีทั้งผลดีและผลกระทบ แต่คู่เจรจาได้พยายามศึกษารวบรวมข้อมูล และเจรจาเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างพอใจ ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเฉพาะ และสภาพแวดล้อมทั่วไปของคู่เจรจาจะแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA หากจะวิเคราะห์แต่ละด้านของแต่ละ FTA จะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรม บางกลุ่มสินค้าได้ประโยชน์ บางกลุ่มสินค้าไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ การเจรจาก็สามารถยืดเวลาในการลดหรือยกเว้นภาษีออกไปจนกว่าภาคการผลิตจะสามารถปรับตัวได้ หรือภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยผลกระทบเหล่านั้น การศึกษาข้อมูลที่อัพเดทเรื่อง FTA จึงถือว่าเป็นประโยชน์ต่อคนทุกกลุ่ม ในครั้งนี้จึงมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมการใช้ประโยชน์ภายใต้ฟอร์มต่างๆให้ได้มากที่สุด หากท่านต้องการเป็นผู้ส่งออกและผู้นำเข้าการสัมมนาในครั้งนี้จะอธิบาย ตั้งแต่เริ่มแรกในการเป็นผู้ประกอบการการศึกษากฎระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ การขอรับใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า จนถึงการผ่านพิธีการการส่งออก ในด้านการนำเข้าก็เช่นกันได้อธิบายถึงขั้นตอนการนำเข้าและการได้รับสิทธิประโยชน์ด้วยเช่นกัน
อาจารย์สมบูรณ์พงษ์ พุกกะเวส
สมาชิก 963฿
บุคคลทั่วไป 1,284฿
0/30
14/06/2023 13:00 - 14/06/2023 16:00